April Fool’s Day คืออะไร ประวัติของวันโกหก ทำไมต้อง 1 เม.ย.

April Fool’s Day คืออะไร ประวัติของวันโกหก ทำไมต้อง 1 เม.ย.

จุดเริ่มต้นของ April Fool’s Day วันโกหก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ วันเมษาหน้าโง่ เกิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ยุคศตวรรษที่ 16 ขณะนั้นวันปีใหม่ของชาวฝรั่งเศส จะตรงกับวันที่ 1 เมษายน จนเมื่อ ค.ศ.1562 โป๊ป เกรกอรี จึงกำหนดให้ชาวคริสต์ทั่วโลกฉลองวันปีใหม่พร้อมกันในวันที่ 1 มกราคม และก็เป็นเช่นนั้นมาจวบจนปัจจุบัน

ซึ่งในยุคสมัยที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ต การกระจายข่าวสารยังไม่ทั่วถึง 

คนชนบทในฝรั่งเศสยังไม่ทราบเรื่องการเปลี่ยนวันปีใหม่ บางคนทราบข่าวแล้วแต่ก็ยังไม่เชื่อ ทำให้พวกเขายังคงเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เม.ย. เหมือนเดิม ทำให้คนฝรั่งเศสในเมือง หรือคนที่รู้เท่าทันข่าวสาร ล้อเลียนคนกลุ่มนี้ มากไปกว่านั้นยังพยายามจะหาเรื่องแกล้งเพื่อความสนุกสนานอีกด้วย

ดังนั้น วันที่ 1 เม.ย. ของทุกปี ก็เลยกลายเป็นวันที่ผู้คนจะแต่งเรื่องอะไรก็ได้มาแกล้งหลอกกันให้คนอื่นหลงเชื่อ จากนั้นค่อยเฉลย ซึ่งเรื่องที่เอามาหลอกนั้น จะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายถึงกับเลือดตกยางออก และคนที่ถูกหลอกจะต้องไม่โกรธด้วย เพราะถือว่าวันนี้เป็นวันพิเศษ ยกเว้นให้หนึ่งวัน

อีกแนวคิดหนึ่งเล่าว่า ประวัติของวันโกหก เริ่มจากพวกโรมันโบราณมีเทศกาลที่เรียกว่า “Cerealia” จัดในช่วงต้นเดือนเมษายน เรื่องเล่านี้มีว่า เทพเจ้าชื่อ Ceres ทรงได้ยินเสียงสะท้อนของพระธิดา Prosperpina ตะโกนมาว่า เธอถูกจับตัวไปอยู่ใต้ผืนดินโดยเทพพลูโต Ceres จึงตามเสียงลูกสาวไป และได้พบความจริงที่ว่า การตามเสียงสะท้อนเนี่ย เป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดเลย เหมือนว่าพระองค์ทรงถูกหลอกนั่นเอง

นอกจากนี้ก็มีเรื่องที่ว่า วันโกหกเกิดจากช่วงฤดูใบไม้ผลิมีคำกล่าวที่ว่า ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ หนุ่มสาวจะออกตามหาความรักและเป็นช่วงที่พืชเจริญเติบโต สัตว์ต่างๆ หาคู่ด้วยและในเดือนนี้ (เมษายน) พวกนักบวชจะพยายามหลอกล่อวิญญาณของความชั่วร้ายอย่างสุดความสามารถ เพื่อไม่ให้มันมาขัดขวางความรักของทั้งหนุ่มสาว พืช และสัตว์ ดังนั้นจึงเป็นเดือนที่นักบวชจะต้องสวดเพื่อล่อวิญญาณร้ายซึ่งวิธีนี้เริ่มขึ้นในอเมริกา และเผยแพร่ไปที่อังกฤษ และลามเข้าไปในประเทศอื่นๆ

วันโกหกคืออะไรในสมัยกลาง จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ทุกวันที่ 25 มีนาคมในยุโรปส่วนมาก จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ อีกทั้งในบางท้องที่ของประเทศฝรั่งเศสยังเป็นวันหยุดยาวนานถึง 1 อาทิตย์ และมักจะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 เมษายน

วันที่ 1 เมษายน วันโกหก กำเนิดมาจากการล้อผู้ที่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันอื่น หรือกล่าวว่า เป็นการล้อเลียนคนที่ฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันอื่น ๆ นอกเหนือจากวันที่ 1 มกราคม ใครฉลองวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน, 1 กุมภาพันธ์ หรือวันอื่น ๆ ก็จะถูกล้อเลียนนั่นเอง

แม้ที่มาอาจดูคลุมเครือไม่ชัดเจน แต่ประเพณีเหล่านี้ก็ได้ตกทอดมาสู่ยุคปัจจุบันกลายเป็นเทศกาลประจำปีซึ่งเป็นที่นิยมทั่วโลก และมักปรากฎอยู่บนหลายสื่ออีกด้วย

ถึงจะเป็นวันโกหก แต่เมื่อปี พ.ศ. 2564 ตำรวจประเทศไทยได้แจ้งเตือนว่าการโพสต์ และแบ่งปันข่าวปลอม (Fake News) บนสื่อสังคมถือเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ชวนมารู้จัก วันออมสินของไทย 1 เมษายน จากคลังออมสิน สู่ธนาคารออมสิน

วันนี้ The Thaiger พามาทำความรู้จัก “วันออมสินของไทย 1 เมษายน” ซึ่งวันนี้มีขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รำลึกถึงการก่อตั้งธนาคารออมสิน และการริเริ่มแนวคิดออมเงินในประเทศไทย 

โดยในทุก ๆ ปีหากเด็กและเยาวชนคนไหนทำการฝากเงินกับธนาคารออมสินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ก็จะได้รับของขวัญจากธนาคารออมสิน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการออมให้แก่เด็ก ๆ และเยาวชนของประเทศชาติ

1 เม.ย. วันออมสินของไทย กับแนวคิดให้คนไทยรักการออมเงิน

ธนาคารออมสิน ถือกำเนิดโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรักษาทรัพย์ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย โดยทรงตราพระราชบัญญัติจัดตั้งคลังออมสินขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456

ด้วยพระราชปณิธานที่จะให้คลังออมสินเป็นที่เก็บรักษาทรัพย์สินอย่างปลอดภัย และฝึกฝนให้ราษฎรรู้จักเก็บออมทรัพย์อย่างถูกวิธี โดยเริ่มแรกพระองค์ทรงริเริ่มจัดตั้งคลังออมสินทดลองขึ้น โดยทรงพระราชทานนามแบงก์ว่า “ลีฟอเทีย” ในปี พ.ศ. 2450 เพื่อทรงใช้ศึกษาและสำรวจนิสัยคนไทยในการออมเบื้องต้น พระองค์ทรงเข้าใจในราษฎรของพระองค์และทรงทราบดีว่าควรใช้กุศโลบายใดอันจะจูงใจคนไทยให้มองเห็นความสำคัญของการออม

คที่ 1 กำเนิดธนาคารออมสิน (พ.ศ. 2456-2471)

เพื่อให้คลังออมสินได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลเผื่อแผ่ไปถึงราษฎรโดยทั่วกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการจัดตั้ง “คลังออมสิน” ขึ้นในสังกัด กรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลัง มหาสมบัติ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกาศใช้ “พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456” ประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456